CO2 Laser รักษาสิว กำจัดไฝ ติ่งเนื้อ อันตรายไหม? ทำกี่ครั้งถึงเห็นผล ?
ในยุคที่ความงามและสุขภาพผิวพรรณมีความสำคัญมากขึ้น เทคโนโลยีการรักษาผิวพรรณก็ได้ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว CO2 Laser คือหนึ่งในเทคโนโลยีที่ช่วยรักษาสิว กำจัดไฝ ติ่งเนื้อส่วนเกินที่เราไม่ต้องการออกไปได้ มีการทำงานอย่างไร? อันตรายไหม? ทำกี่ครั้งถึงเห็นผล? โมเดลล่ามีคำตอบ
CO2 Laser คืออะไร ?
เลเซอร์คาร์บอนไดออกไซด์ Cabon Dioxide (CO2) Laser มีความยาวคลื่น 10,600 นาโนเมตร ในกลุ่ม Ablative Laser เป็นเลเซอร์ที่ใช้สำหรับการลอกหรือตัดผิวหนัง ช่วยรักษาโรคทางผิวหนัง แก้ปัญหาส่วนเกินที่ไม่ต้องการ ไม่ว่าจะเป็น รักษาสิว เลเซอร์หน้าใส กำจัดเนื้องอกเฉพาะจุด เช่น ไฝ ขี้แมลงวัน ติ่งเนื้อ กระเนื้อ ต่อมไขมัน
หลักการทำงานของเลเซอร์
ปล่อยลำแสงเลเซอร์ที่มีความร้อนสูงไปยังบริเวณที่ต้องการรักษา พลังงานความร้อนนี้จะถูกดูดซับโดยน้ำในเนื้อเยื่อ ทำให้เกิดเป็นพลังงานความร้อนสูงทำลายเซลล์เนื้อเยื่อส่วนเกินให้หลุดลอกออก และไม่สร้างความเสียหายต่อเนื้อเยื่อรอบ ๆ
สามารถใช้รักษาได้ใน 2 รูปแบบคือ
- แบบCO2 Laser
- ทำลายเนื้อเยื่อส่วนเกิน ยิงเลเซอร์แบบต่อเนื่อง ให้พลังงานความร้อนสูง
- เหมาะกับผู้ที่มีปัญหาผิวหนังที่ต้องการการรักษาแบบรวดเร็ว เห็นผลชัดเจน
- เหมาะกับใช้รักษาการตัดเนื้อเยื่อส่วนเกิน กำจัดไฝ ขี้แมลงวัน ติ่งเนื้อ กระเนื้อ ต่อมไขมัน
- แบบ Fractional CO2 Laser
- ยิงเลเซอร์แบบเป็นจุดเล็กๆ หลายๆ จุดคล้ายตาราง กระจายพลังงานความร้อนไปทั่วบริเวณ ทำลายเนื้อเยื่อผิวหนังเพียงบางส่วนเท่านั้น
- ใช้รักษาผิว กระตุ้นการสร้างคอลลาเจน และอีลาสติน ช่วยเรื่องหลุมสิว ผิวหน้าไม่เรียบ ลดเลือนริ้วรอย รอยแผลเป็น และรอยแตกลาย
- เหมาะกับผู้ที่มีปัญหาผิวหนังที่ต้องการการรักษาแบบเห็นผลลัพธ์ค่อยเป็นค่อยไป โดยไม่ต้องพักฟื้นนาน
CO2 Laser ช่วยรักษาปัญหาผิวอะไรได้บ้าง ?
- กำจัดไฝ ขี้แมลงวัน กระเนื้อ ติ่งเนื้อ ที่เกิดขึ้นบนผิวหนังได้อย่างแม่นยำ โดยไม่ต้องผ่าตัด
- รักษาสิว รอยดำ รอยแดง และหลุมสิว
- ยกกระชับผิว ช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนและอีลาสติน ทำให้ผิวหน้าดูเต่งตึง กระชับขึ้น
- รักษารอยแผลเป็น ช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนใหม่ ทำให้รอยแผลเป็นดูเรียบเนียนขึ้น
- ลดริ้วรอย ช่วยลดเลือนริ้วรอยร่องลึก รอยตีนกา ทำให้ผิวหน้าดูอ่อนเยาว์ลง
CO2 Laser อันตรายไหม?
มีความปลอดภัยสูง ผลข้างเคียงโดยทั่วไปมักไม่รุนแรงและหายไปเองภายใน 1-2 สัปดาห์ ผลข้างเคียงที่พบบ่อย ได้แก่
- รอยแดงและบวม: เป็นผลข้างเคียงที่พบบ่อยที่สุดหลังเลเซอร์ อาการเหล่านี้มักจะหายไปเองภายใน 1-2 วัน
- ผิวหนังมีสีแดง: จะค่อยๆ จางเป็นสีชมพู และจะกลับเป็นสีปกติตามธรรมชาติ
- รอยสะเก็ดแผล: หลังเลเซอร์จะเกิดสะเก็ดแผล มักจะหลุดลอกเองภายใน 1-2 สัปดาห์
- ผิวเข็มขึ้น: บริเวณที่เลเซอร์อาจมีสีผิวเข้มขึ้น พบบ่อยในผู้ป่วยที่มีผิวคล้ำ และจะเป็นมากขึ้นหากโดนแสงแดดจัด
- รอยแผลเป็น: พบน้อยมากจากการรักษา แต่อาจเกิดขึ้นได้ในรายที่ผิวหนังถูกกระทบกระเทือน ซึ่งการปฏิบัติตนตามคำแนะนำโดยเคร่งครัด ช่วยลดโอกาสการเกิดแผลเป็นได้
- การติดเชื้อ: การติดเชื้อเป็นผลข้างเคียงที่พบได้น้อยมากหลังเลเซอร์ หากเกิดการติดเชื้อ แพทย์จะสั่งยาปฏิชีวนะเพื่อรักษา
นอกจากผลข้างเคียงที่พบบ่อยแล้ว ยังมีผลข้างเคียงอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น
- อาการปวด อาการแสบร้อน: มักจะหายไปเองภายใน 1-2 วัน
- อาการคัน: มักจะหายไปเองภายใน 1-2 วัน
- อาการชา: เป็นผลข้างเคียงที่พบได้น้อยมาก มักจะหายไปเองภายใน 1-2 สัปดาห์
หากคนไข้มีข้อกังวลใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียงหลังเลเซอร์ ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
วิธีป้องกันผลข้างเคียงจากเลเซอร์
- เลือกแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ควรเลือกแพทย์ที่มีประสบการณ์ในการรักษา
- ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดหลังการรักษา
- หลีกเลี่ยงแสงแดดหลังการรักษา และทาครีมกันแดดที่มีค่า SPF 30 ขึ้นไปทุกวัน
- ควรทาครีมบำรุงผิวที่ให้ความชุ่มชื้นหลังการรักษา
- หลีกเลี่ยงการแกะเกาแผล เพราะอาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้
ใครไม่เหมาะจะทำเลเซอร์ ?
- ผู้ที่ตั้งครรภ์หรืออยู่ในระหว่างให้นมบุตร
- ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเกี่ยวกับเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน โรคเบาหวาน โรคเลือด โรคระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือผู้ที่มีภาวะโรคผิวหนังรุนแรง
- ผู้ที่มีผิวหนังอักเสบ เช่น โรคสะเก็ดเงิน โรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้ หรือสิวอักเสบ
CO2 Laser ควรทำกี่ครั้ง ?
จำนวนครั้งในการรักษาขึ้นอยู่กับปัญหาผิวของแต่ละบุคคล โดยทั่วไปแล้วจะทำประมาณ 1-3 ครั้ง ห่างกันประมาณ 4-6 สัปดาห์
ขั้นตอนการทำเลเซอร์มีอะไรบ้าง ?
- การปรึกษาและประเมินสภาพผิว แพทย์จะทำการตรวจสอบและประเมินสภาพผิว รวมถึงการซักถามเกี่ยวกับประวัติการรักษาโรคประจำตัว การแพ้ยา และการใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว และวางแผนการรักษาที่เหมาะสมกับสภาพผิวและปัญหาที่ต้องการแก้ไข
- เตรียมผิวหนังและการทำความสะอาดผิว แพทย์หรือเจ้าหน้าที่จะเช็ดทำความสะอาดผิวบริเวณที่จะทำเลเซอร์ เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
- เลเซอร์ แพทย์จะใช้เครื่องเลเซอร์ยิงไปยังบริเวณที่ต้องการรักษาปล่อยแสงเลเซอร์ในรูปแบบของจุดเล็กๆ ที่กระจายทั่วบริเวณผิว โดยปรับความเข้มข้น ระยะเวลา และจำนวนการยิง ให้เหมาะสมกับรอยโรค ผู้เข้ารับการรักษาอาจรู้สึกแสบร้อน หรือได้กลิ่นไหม้เกรียม ระหว่างการยิงเลเซอร์
กรณีจี้ไฝ ติ่งเนื้อ กระเนื้อ
แพทย์จะทายาชาทิ้งไว้ประมาณ 30-60 นาที เพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายและลดความเจ็บปวดระหว่างการทำเลเซอร์บริเวณที่ต้องการรักษา
กรณีใช้สำหรับเปิดหัวสิวอุดตัน
แพทย์อาจจะทายาชา หรือประคบเย็นบริเวณหัวสิว หลังจากนั้นจึงค่อยยิงเลเซอร์เพื่อเปิดหัวสิวที่อุดตัน
สิ่งที่ควรทำก่อนทำเลเซอร์
- เลี่ยงแสงแดด อย่างน้อย 2 สัปดาห์ เพราะผิวที่โดนแสงแดดอาจไวต่อการเกิดรอยแดงหรือรอยดำหลังการรักษา ควรใช้ครีมกันแดดที่มี SPF สูง
- งดสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์ อย่างน้อย 2 สัปดาห์ อาจทำให้เลือดออกง่าย และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดรอยช้ำ
- เลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่อาจก่อให้เกิดการระคายเคือง เช่น เรตินอยด์ หรือผลิตภัณฑ์ที่มีกรดผลไม้ (AHA, BHA) อย่างน้อย 1-2 สัปดาห์ก่อนการรักษา
- หยุดรับประทานยา สมุนไพร อาหารเสริมที่มีผลต่อการแข็งตัวของเลือด เช่น ยาแอสไพริน ยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs ยาละลายลิ่มเลือด และวิตามินซี ก่อนการรักษา 1-2 สัปดาห์ เนื่องจากอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดรอยช้ำ เลือดออก และการติดเชื้อ
- หากมีโรคประจำตัวหรือมีประวัติแพ้ยา โดยเฉพาะยาชา ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนทำเลเซอร์
สิ่งที่ไม่ควรทำหลังทำเลเซอร์
- เลี่ยงการโดนน้ำบริเวณแผลหลังเลเซอร์ประมาณ 24 ชั่วโมง
- เลี่ยงแสงแดดอย่างน้อย 2 อาทิตย์
- ทาขี้ผึ้งหรือยาบริเวณแผลอย่างเบามือ
- ห้ามแกะสะเก็ดแผล โดยปกติจะหลุดเองภายใน 7-14 วัน (หลังสะเก็ตแผลหลุด จะเห็นเป็นผิวชมพู จากนั้นจะหายเป็นปกติ ในบางรายอาจมีรอยดำหลังการอักเสบ)
- ควรทาครีมกันแดดที่มีค่า SPF 30 ขึ้นไป เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการแดง หรือเกิดฝ้าเพิ่มขึ้น
สรุป
CO2 Laser นั้นถือเป็นเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพสูงในการรักษาปัญหาผิวหลากหลายประเภท ทั้งช่วยแก้ไขปัญหาผิว กำจัดติ่งเนื้อส่วนเกินและฟื้นฟูผิวให้ดูอ่อนเยาว์เรียบเนียน ซึ่งโดยทั่วไปควรทำประมาณ 1-3 ครั้ง ขึ้นอยู่กับปัญหาผิวของแต่ละบุคคล และการดูแลหลังทำของคนไข้ด้วย