ฟิลเลอร์ (Filler) เหมาะกับใคร ?
- ผู้ที่มีปัญหาผิว ต้องการลดและแก้ไขปัญหาริ้วรอยร่องลึก บริเวณต่างๆ ของใบหน้า เช่น หน้าผาก รอบดวงตา ร่องลึกมุมปาก
- ผู้ที่ต้องการแก้ไขปรับแต่งรูปหน้า เช่น เติมริมฝีปาก ร่องแก้ม และยังช่วยทำให้แก้มดูตอบได้
- ผู้ที่ต้องการบำรุงผิวหน้าให้กลับมาคงความอ่อนเยาว์ สดใส เปล่งปลั่ง
- ผู้ที่มีปัญหากังวลเรื่องรูขุมขน หลุมสิวบนใบหน้า
ฟิลเลอร์ (Filler) ฉีดตรงไหนได้บ้าง ?
- ขมับ เติมเต็มใบหน้าให้สวย อ่อนเยาว์ ดูมีมิติ
- Midface คืนความอ่อนเยาว์ ใบหน้าโดยรวมดูเด็กลง อิ่มเอิบขึ้นทันที
- แก้ม แก้มตอบ ใบหน้าเล็กลง ไขมันแก้มลดลง
- ใต้ตา ลดปัญหารอยดำ ร่องลึก ถุงใต้ตาเรียบตึงขึ้น
- ริมฝีปาก เติมเต็มร่องปากให้ดูอวบอิ่ม ยกมุมปากให้เป็นทรงสวย
- คาง ปรับรูปหน้า ใบหน้าเรียวขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติ กรอบหน้าคมชัด เหนียง, คาง 2 ชั้นลดลง
ประเภทของฟิลเลอร์ (Filler) มีกี่แบบ ?
ฟิลเลอร์ (Filler) มี 3 ประเภท ได้แก่
1.Temporary Filler (ฟิลเลอร์แบบชั่วคราว)
Temporary Filler หรือ ฟิลเลอร์แบบชั่วคราวคือ ฟิลเลอร์ที่สามารถสลายตัวได้เองตามธรรมชาติ มีความปลอดภัยสูง เป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน และเป็นชนิดเดียวที่ผ่านสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย.ไทย นั่นคือ ฟิลเลอร์ชนิดสารเติมเต็ม Hyaluronic Acid (HA) สามารถอยู่ได้ประมาณ 6-24 เดือน ขึ้นอยู่กับยี่ห้อและรุ่นฟิลเลอร์ เมื่อฟิลเลอร์สลายตัวก็สามารถเติมใหม่ได้เรื่อยๆ
2.Semi Permanent Filler (ฟิลเลอร์แบบกึ่งถาวร)
Semi Permanent Filler หรือ ฟิลเลอร์แบบกึ่งถาวรคือ ฟิลเลอร์ที่ไม่สามารถสลายได้หมด 100% ฟิลเลอร์แบบกึ่งถาวรจะมีความปลอดภัยน้อยกว่าฟิลเลอร์แบบชั่วคราว สามารถอยู่ได้นานประมาณ 2-5 ปี
ตัวอย่างฟิลเลอร์แบบกึ่งถาวร เช่น สารแคลเซียม ไฮดรอกซีอะพาไทต์ (Calcium Hydroxyapatite) สาร PLLA (Poly-L-lactic acid) และ สาร Polyalkylimide สารเติมเต็มในกลุ่มฟิลเลอร์แบบกึ่งถาวรอาจเกิดผลข้างเคียงได้ เนื่องจากไม่สามารถสลายได้หมด เมื่อฉีดไปนานๆ อาจเกิดปัญหาฟิลเลอร์เป็นก้อน หรือการอักเสบตามมา ทำให้รักษา หรือแก้ไขได้ยาก ฟิลเลอร์แบบกึ่งถาวรนี้มีใช้ในต่างประเทศ แต่ยังไม่ผ่านอย.ในประเทศไทย
3.Permanent Filler (ฟิลเลอร์แบบถาวร)
Permanent Filler หรือ ฟิลเลอร์แบบถาวรคือ ฟิลเลอร์ที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ เป็นฟิลเลอร์ที่อยู่แบบถาวร และเป็นฟิลเลอร์ที่ไม่ผ่านอย. โดยสารเติมเต็มในกลุ่มฟิลเลอร์แบบถาวรนี้ เช่น ซิลิโคนเหลว พาราฟิน และ สาร PMMA (Polymethyl-methacrylate microspheres) หลังฉีดไปแล้วผิวจะไม่สามารถดูดซึมได้ ทำให้ตกค้างอยู่ในชั้นผิว ฟิลเลอร์แบบถาวรนี้มีผลข้างเคียงในระยะยาว เช่น ฟิลเลอร์ไหล ฟิลเลอร์ย้อยผิดรูป หรือกลายเป็นพังผืด การรักษาทำได้โดยผ่าตัดออก หรือขูดออกเท่านั้น ไม่มียาฉีดสลายฟิลเลอร์ ผู้ที่จะฉีดฟิลเลอร์จึงไม่ควรฉีดสารเติมเต็มชนิดนี้